เก๊าต์-โรคของคนมีเงิน
โรคเก๊าต์ คือโรคปวดตามข้อชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย โดยอยู่ดี ๆ ก็มีอาการปวดและร้อนที่ข้อเท้าโดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่เท้า ข้อนิ้วเท้า หรือข้อเข่าอย่างเฉียบพลันและรุนแรง เจ็บมากจนเดินไม่ไหว และจะปวดข้ออื่นๆ ตามมา อาจมีอาการไข้หนาวสั่นร่วมด้วย ซึ่งมักจะเป็นในเวลากลางคืน แต่อาการอาจจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
โรคเก๊าต์ เกิดจากร่างกายมีกรดยูริดในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริคตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้ามากที่ข้อต่อ หรือตามผิวหนังนอกจากจะปวดข้อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังจะทำให้เกิดปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง ถ้าสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดโรคนิ่วในไตและอาจเกิดอาการไตเสื่อมเป็นต้น
กรดยูริคเกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเองประมาณ 80% ซึ่งมาจากการสลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดยูริค เช่นกล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นหรือภาวะอดอาหาร ส่วนอีก 20 % เกิดจากสารพิวรีนที่ได้จากอาหารที่รับประทาน ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะย่อยสลายจนกลายเป็นกรคยูริค
โดยปกติร่างกายจะมีระดับกรดยูริตไม่สูงกว่า 7 มิลลิกรัมในเลือด 1000 มิลลิลิตร เนื่องจากมีระบบควบคุมการสร้างและกำจัดกรดยูริคอย่างสมดุล กรดยูริคจะถูกขับออกทางไต 2 ใน 3 ของที่ร่างกายสร้างขึ้น อีกส่วนหนึ่งจะขับออกทางลำไส้ใหญ่ ทางน้ำลาย น้ำย่อยและดีซึ่งจะถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้
สาเหตุของโรคเก๊าต์ที่แท้จริงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างพบว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของกรดยูริคโดยตรงคือ
1.มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
2.กรรมพันธุ์
3.รับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงเช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง น้ำสกัดเนื้อ ซุบก้อน กะปิ กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)
4.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป
5.ยาบางขนิดที่อาจเพิ่มระดับของกรดยูริค เช่น แอสไพริน ไนอาซีน หรือใช้ยาขับปัสสาวะ
6.ความเจ็บป่วยบางอย่างเช่นารลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในโลหิตสูงเป็นต้น
โรคเก๊าต์สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก แต่ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายอายุ 30-40 ปีขึ้นไป เพราะโรคเก๊าต์จะต้องใช้เวลาสะสมกรดยูริคนานเป็น 10 ปีกว่าจะแสดงอาการ และสาเหตุที่ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า เพราะผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิง ผู้หญิงจะเป็นโรคเก๊าต์ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะช่วงที่มีประจำเดือนอยู่นั้นจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย หลังจากนั้นประมาณ 5-10 ปีก็เริ่มมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้
โรคเก๊าต์สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะว่า การรักษาโรคเก๊าต์มี 2 วิธี
การรักษาด้วยวิธีการไม่ใช้ยา คือ ให้ลดน้ำหนักตัวที่สูงเกินไป ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยขับกรดยูริคออกทางไต งดดื่มสุราและแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเลเป็นต้น
ส่วนการรักษาด้วยการใช้ยา แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ข้ออักเสบเฉียบพลัน ใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ระยะป้องกันข้ออักเสบกำเริบอาจใช้ยาในกลุ่มที่ใช้รักษาระยะที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน หากไม่มีข้ออักเสบนานประมาณ 6 เดือนอาจพิจารณาหยุดยาได้ การให้ยาลดกรดยูริค มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้โรคนี้หายขาดได้ เนื่องจากการใช้ยาลดกรดยูริคเพื่อทำให้กรดยูริคในเลือดต่ำตลอดเวลา ยาลดกรดยูริคมี 2 ชนิด คือยาเร่งการขับกรดยูริคทางไต และยายับยั้งการสร้างกรดยูริค
ในกรณีที่ใช้ยาควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถหายขาดได้ในไม่ช้า
โรคเก๊าต์ เกิดจากร่างกายมีกรดยูริดในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริคตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้ามากที่ข้อต่อ หรือตามผิวหนังนอกจากจะปวดข้อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังจะทำให้เกิดปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง ถ้าสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดโรคนิ่วในไตและอาจเกิดอาการไตเสื่อมเป็นต้น
กรดยูริคเกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเองประมาณ 80% ซึ่งมาจากการสลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดยูริค เช่นกล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นหรือภาวะอดอาหาร ส่วนอีก 20 % เกิดจากสารพิวรีนที่ได้จากอาหารที่รับประทาน ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะย่อยสลายจนกลายเป็นกรคยูริค
โดยปกติร่างกายจะมีระดับกรดยูริตไม่สูงกว่า 7 มิลลิกรัมในเลือด 1000 มิลลิลิตร เนื่องจากมีระบบควบคุมการสร้างและกำจัดกรดยูริคอย่างสมดุล กรดยูริคจะถูกขับออกทางไต 2 ใน 3 ของที่ร่างกายสร้างขึ้น อีกส่วนหนึ่งจะขับออกทางลำไส้ใหญ่ ทางน้ำลาย น้ำย่อยและดีซึ่งจะถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้
สาเหตุของโรคเก๊าต์ที่แท้จริงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างพบว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของกรดยูริคโดยตรงคือ
1.มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
2.กรรมพันธุ์
3.รับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงเช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง น้ำสกัดเนื้อ ซุบก้อน กะปิ กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)
4.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป
5.ยาบางขนิดที่อาจเพิ่มระดับของกรดยูริค เช่น แอสไพริน ไนอาซีน หรือใช้ยาขับปัสสาวะ
6.ความเจ็บป่วยบางอย่างเช่นารลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในโลหิตสูงเป็นต้น
โรคเก๊าต์สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก แต่ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายอายุ 30-40 ปีขึ้นไป เพราะโรคเก๊าต์จะต้องใช้เวลาสะสมกรดยูริคนานเป็น 10 ปีกว่าจะแสดงอาการ และสาเหตุที่ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า เพราะผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิง ผู้หญิงจะเป็นโรคเก๊าต์ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะช่วงที่มีประจำเดือนอยู่นั้นจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย หลังจากนั้นประมาณ 5-10 ปีก็เริ่มมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้
โรคเก๊าต์สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะว่า การรักษาโรคเก๊าต์มี 2 วิธี
การรักษาด้วยวิธีการไม่ใช้ยา คือ ให้ลดน้ำหนักตัวที่สูงเกินไป ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยขับกรดยูริคออกทางไต งดดื่มสุราและแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเลเป็นต้น
ส่วนการรักษาด้วยการใช้ยา แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ข้ออักเสบเฉียบพลัน ใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ระยะป้องกันข้ออักเสบกำเริบอาจใช้ยาในกลุ่มที่ใช้รักษาระยะที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน หากไม่มีข้ออักเสบนานประมาณ 6 เดือนอาจพิจารณาหยุดยาได้ การให้ยาลดกรดยูริค มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้โรคนี้หายขาดได้ เนื่องจากการใช้ยาลดกรดยูริคเพื่อทำให้กรดยูริคในเลือดต่ำตลอดเวลา ยาลดกรดยูริคมี 2 ชนิด คือยาเร่งการขับกรดยูริคทางไต และยายับยั้งการสร้างกรดยูริค
ในกรณีที่ใช้ยาควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถหายขาดได้ในไม่ช้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น