โรคสมองเสื่อม
เรามักจะเข้าใจกันว่า โรคสมองเสื่อมกับโรคอัลไซเมอร์หรือสมองฝ่อเป็นโรคเดียวกัน เพราะมีอาการเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงโรคในกลุ่มเดียวกัน เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อม มีความแตกต่างกัน คือ
โรคสมองเสื่อมคืออาการที่ทำให้มีความจำเสื่อม และความสามารถด้านอื่นๆ ของสมองก็ลดลงไปด้วย เป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุ
ส่วนโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองฝ่อเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อสมองเสื่อมสลาย
ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์เป็นจำนวนมากถึง 50-70 % เลยทีเดียว
และมักพบในคนสูงอายุวัย 65-70 ปีขึ้นไป ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นในเมืองไทยพบว่ามีประชากรอายุเกิน 60 ปีเป็นกันถึง 3 ล้าน 1 แสนคน หรือร้อยละ 1.8 ถึง 10.2 ตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป
อาการของโรคสมองเสื่อมรวมทั้งอัลไซเมอร์ คือภาวะของสมองที่เสื่อมถอยด้อยลงไปจากที่เคยเป็น ไม่ใช่แค่ความจำอย่างเดียว แต่รวมไปถึงความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป และเมื่อมีอาการมากขึ้น จะไม่สามารถดูแลตนเองได้ สมองเสื่อมมีโอกาสเกิดได้ทุกอายุ เนื่องจากเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากในผู้สูงอายุเพราะความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา มิใช่ว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเป็นผู้สูงอายุแล้วจะต้องเป็นโรคสมองเสื่อมเสมอไป อีกทั้งโรคสมองเสื่อมมีได้หลายแบบโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มจากอัลไซเมอร์ มันอาจจะเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ พันธุกรรม หรือแม้แต่ยาบางชนิดก็อาจเป็นสาเหตุได้
ความเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำลายสมองได้โดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สมองมาก ใช้ความคิดตลอดเวลา ใช้สมองแบบไม่หยุดหย่อน ปล่อยปละละเลย ไม่ผ่อนคลาย สร้างสารก่อความเครียดให้กับตนทุกวัน ความเสื่อมและความชราของสมองก็จะเร่งเข้ามาเยือนเร็วขึ้น
อาการรูปธรรมของสมองเสื่อมส่วนมากจะเป็นดังต่อไปนี้
- มีความบกพร่องในการรับรู้ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่สามารถจดจำคำพูดระหว่างสนทนา
- มีความบกพร่องในการใช้ภาษา ทั้งภาษาพูดภาษาเขียน นึกชื่อสิ่งของไม่ออก ผิดปกติในการเรียกชื่อคนและสิ่งของ พูดไม่เป็นประโยคหรือขาดความต่อเนื่อง
- มีความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรและกิจกรรมประจำวัน ไม่สามารถทำกิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำได้ จนในที่สุด จะมีลักษณะกลับไปเป็นเหมือนเด็ก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- มีบุคลิกภาพ พฤติกรรม และอารมณ์ที่ผิดแปลกไปจากเดิม อาจกลายเป็นคนเฉยเมย ไม่กระตือรือร้น โมโหฉุนเฉียวง่าย ทำอะไรซ้ำซาก
- มีอาการนอนไม่ค่อยหลับ ระยะท้ายๆ อาจมีอาการทางจิต เช่นภาพหลอนหรือหลงผิดเป็นต้น
สำหรับอาการเหล่านี้ แยกได้ตามความหนักเบาของโรคได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง เป็นระดับที่ภาวะเสื่อมเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม ลืมว่าวางของที่ไหน จำชื่อคนหรือสถานที่คุ้นเคยไม่ได้ ความจำในอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในการทำงานและสังคมชัดเจน แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ การตัดสินใจยังค่อนข้างดี
2.ระดับปานกลาง ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในการเข้าใจ การรับรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่นไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่าย ๆ ได้ เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ ทำสิ่งที่เคยทำมาก่อนไม่ได้ ลืมชื่อคนในครอบครัว อาจจะมีอาการทางจิตเช่นประสาทหลอนหลงผิด เริ่มไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตราย ต้องอาศัยผู้ดูแลช่วยเหลือ
3.ระดับรุนแรง ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา จำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้แม้แต่ตัวเอง มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้าหรือไม่ได้ แม้แต่สุขภาพตัวเองก็ดูแลไม่ได้เช่นกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ส่วนการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะแก้ไขให้ดีดังเดิมได้ยาก ยกเว้นภาวะเลือดออกในสมองบางกรณี สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด แพทย์อาจใช้ยาบำรุงสมอง เพื่อชะลอความเสื่อมให้ช้าลง โดยทั่วไปการป้องกันในสิ่งที่ทำได้ย่อมจะดีที่สุด เราไม่สามารถหยุดยั้งความเสื่อมตามธรรมชาติได้ แต่เราสามารถดูแลสุขภาพของเราให้ดี เช่น ควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า หลีกเลี่ยงยาเสพติด ไม่สำส่อนทางเพศ ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ มีความรักความเข้าใจความอบอุ่นในครอบครัว ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงไม่เคร่งเครียดเกินไป เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ชีวิตมีความสุขได้ในระดับที่น่าพอใจ
ยังไม่มีอาหารใดที่พิสูจน์แน่ชัดแล้วว่าช่วยรักษาโรคสมองเสื่อมได้จริง บางรายสมองเสื่อมเพราะขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามิน เช่นวิตามิน บี. 1 บี.12 ซึ่งเป็นสารช่วยให้การทำงานของเซลล์สมองเป็นไปตามปกติ มีอาหารบางอย่างช่วยให้การทำงานของสมองด้านความจำดีขึ้นบ้างเช่นจมูกข้าวมีสารโคลีนช่วยในการสร้างสื่อประสาทของเซลล์สมอง ข้าวกล้องมีวิตามินบีสูง ช่วยบำรุงเซลล์สมอง ไข่แดงและผักใบเขียวมีโคลีนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทของเซลล์สมอง อาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมคืออาหารที่ครบถ้วนทางโภชนาการทั้ง 5 หมู่ ควรดื่มน้ำให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
สำหรับการดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องเข้าใจและยอมรับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยเรื่องความจำและการใช้ความคิด จะมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวัน เช่นกินอาหาร ปัสสาวะ อุจจาระ อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า ออกนอกบ้านเป็นต้น ช่วยการให้ยาพาไปพบแพทย์ ดูแลสถานที่บ้านพักอาศัยให้ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย การดูแลด้านจิตใจและอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ การออกกำลังกายรวมถึงกิจกรรมอื่นๆ นอกจากดูแลผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลยัง
ต้องคอยดูสุขภาพจิตของตนด้วย เพราะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ต้องอดทนอดกลั้นในระดับสูงมาก เพื่อมิให้มีการผิดพลาดในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองหรือความจำเสื่อมตามหน้าที่
โรคสมองเสื่อมคืออาการที่ทำให้มีความจำเสื่อม และความสามารถด้านอื่นๆ ของสมองก็ลดลงไปด้วย เป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุ
ส่วนโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองฝ่อเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อสมองเสื่อมสลาย
ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์เป็นจำนวนมากถึง 50-70 % เลยทีเดียว
และมักพบในคนสูงอายุวัย 65-70 ปีขึ้นไป ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นในเมืองไทยพบว่ามีประชากรอายุเกิน 60 ปีเป็นกันถึง 3 ล้าน 1 แสนคน หรือร้อยละ 1.8 ถึง 10.2 ตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป
อาการของโรคสมองเสื่อมรวมทั้งอัลไซเมอร์ คือภาวะของสมองที่เสื่อมถอยด้อยลงไปจากที่เคยเป็น ไม่ใช่แค่ความจำอย่างเดียว แต่รวมไปถึงความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป และเมื่อมีอาการมากขึ้น จะไม่สามารถดูแลตนเองได้ สมองเสื่อมมีโอกาสเกิดได้ทุกอายุ เนื่องจากเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากในผู้สูงอายุเพราะความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา มิใช่ว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเป็นผู้สูงอายุแล้วจะต้องเป็นโรคสมองเสื่อมเสมอไป อีกทั้งโรคสมองเสื่อมมีได้หลายแบบโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มจากอัลไซเมอร์ มันอาจจะเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ พันธุกรรม หรือแม้แต่ยาบางชนิดก็อาจเป็นสาเหตุได้
ความเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำลายสมองได้โดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สมองมาก ใช้ความคิดตลอดเวลา ใช้สมองแบบไม่หยุดหย่อน ปล่อยปละละเลย ไม่ผ่อนคลาย สร้างสารก่อความเครียดให้กับตนทุกวัน ความเสื่อมและความชราของสมองก็จะเร่งเข้ามาเยือนเร็วขึ้น
อาการรูปธรรมของสมองเสื่อมส่วนมากจะเป็นดังต่อไปนี้
- มีความบกพร่องในการรับรู้ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่สามารถจดจำคำพูดระหว่างสนทนา
- มีความบกพร่องในการใช้ภาษา ทั้งภาษาพูดภาษาเขียน นึกชื่อสิ่งของไม่ออก ผิดปกติในการเรียกชื่อคนและสิ่งของ พูดไม่เป็นประโยคหรือขาดความต่อเนื่อง
- มีความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรและกิจกรรมประจำวัน ไม่สามารถทำกิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำได้ จนในที่สุด จะมีลักษณะกลับไปเป็นเหมือนเด็ก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- มีบุคลิกภาพ พฤติกรรม และอารมณ์ที่ผิดแปลกไปจากเดิม อาจกลายเป็นคนเฉยเมย ไม่กระตือรือร้น โมโหฉุนเฉียวง่าย ทำอะไรซ้ำซาก
- มีอาการนอนไม่ค่อยหลับ ระยะท้ายๆ อาจมีอาการทางจิต เช่นภาพหลอนหรือหลงผิดเป็นต้น
สำหรับอาการเหล่านี้ แยกได้ตามความหนักเบาของโรคได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง เป็นระดับที่ภาวะเสื่อมเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม ลืมว่าวางของที่ไหน จำชื่อคนหรือสถานที่คุ้นเคยไม่ได้ ความจำในอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในการทำงานและสังคมชัดเจน แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ การตัดสินใจยังค่อนข้างดี
2.ระดับปานกลาง ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในการเข้าใจ การรับรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่นไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่าย ๆ ได้ เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ ทำสิ่งที่เคยทำมาก่อนไม่ได้ ลืมชื่อคนในครอบครัว อาจจะมีอาการทางจิตเช่นประสาทหลอนหลงผิด เริ่มไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตราย ต้องอาศัยผู้ดูแลช่วยเหลือ
3.ระดับรุนแรง ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา จำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้แม้แต่ตัวเอง มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้าหรือไม่ได้ แม้แต่สุขภาพตัวเองก็ดูแลไม่ได้เช่นกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ส่วนการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะแก้ไขให้ดีดังเดิมได้ยาก ยกเว้นภาวะเลือดออกในสมองบางกรณี สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด แพทย์อาจใช้ยาบำรุงสมอง เพื่อชะลอความเสื่อมให้ช้าลง โดยทั่วไปการป้องกันในสิ่งที่ทำได้ย่อมจะดีที่สุด เราไม่สามารถหยุดยั้งความเสื่อมตามธรรมชาติได้ แต่เราสามารถดูแลสุขภาพของเราให้ดี เช่น ควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า หลีกเลี่ยงยาเสพติด ไม่สำส่อนทางเพศ ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ มีความรักความเข้าใจความอบอุ่นในครอบครัว ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงไม่เคร่งเครียดเกินไป เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ชีวิตมีความสุขได้ในระดับที่น่าพอใจ
ยังไม่มีอาหารใดที่พิสูจน์แน่ชัดแล้วว่าช่วยรักษาโรคสมองเสื่อมได้จริง บางรายสมองเสื่อมเพราะขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามิน เช่นวิตามิน บี. 1 บี.12 ซึ่งเป็นสารช่วยให้การทำงานของเซลล์สมองเป็นไปตามปกติ มีอาหารบางอย่างช่วยให้การทำงานของสมองด้านความจำดีขึ้นบ้างเช่นจมูกข้าวมีสารโคลีนช่วยในการสร้างสื่อประสาทของเซลล์สมอง ข้าวกล้องมีวิตามินบีสูง ช่วยบำรุงเซลล์สมอง ไข่แดงและผักใบเขียวมีโคลีนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทของเซลล์สมอง อาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมคืออาหารที่ครบถ้วนทางโภชนาการทั้ง 5 หมู่ ควรดื่มน้ำให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
สำหรับการดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องเข้าใจและยอมรับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยเรื่องความจำและการใช้ความคิด จะมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวัน เช่นกินอาหาร ปัสสาวะ อุจจาระ อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า ออกนอกบ้านเป็นต้น ช่วยการให้ยาพาไปพบแพทย์ ดูแลสถานที่บ้านพักอาศัยให้ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย การดูแลด้านจิตใจและอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ การออกกำลังกายรวมถึงกิจกรรมอื่นๆ นอกจากดูแลผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลยัง
ต้องคอยดูสุขภาพจิตของตนด้วย เพราะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ต้องอดทนอดกลั้นในระดับสูงมาก เพื่อมิให้มีการผิดพลาดในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองหรือความจำเสื่อมตามหน้าที่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น