จอประสาทตาเสื่อม
ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญอันดับแรก ๆ ของคนเรา ทำให้มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามธรรมชาติวิสัย ถ้าเรามองอะไรไม่เห็นเสียแล้ว การดำรงชีวิตยู่ของเราก็เป็นปัญหาใหญ่ อย่างไรก็ดี มันก็เหมือนอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายเรา มิได้อยู่ยงคงที่ตลอดไป มันจะเสื่อมลงตามอายุขัยที่เพิ่มสูงขึ้นในกาลเวลาที่ผ่านไป
การที่คนเราจะมองเห็นอะไรได้ดีและชัดเจนนั้น ภาพที่เรามองจะต้องสามารถผ่านเข้าไปในลูกตา โดยผ่านส่วนประกอบต่าง ๆ ของตา คือกระจกตา และเลนส์แก้วตา ไปตกที่จอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่บริเวณหลังสุดของลูกตา ที่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทตาจำนวนมาก ที่ส่งสัญญาณภาพที่ผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปลสัญญาณภาพที่เรามองเห็นให้เรารู้ว่าเป็นภาพอะไร ทำให้เรารับรู้และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่นอ่านหนังสือ ขับรถ หรือพูดจาวิสาสะกับเพื่อนฝูงได้เป็นต้น
ศุนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้สามารถองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน ถ้าศูนย์กลางรับภาพนี้เสื่อมหรือเสีย จะทำให้มองภาพไม่ชัด เหมือนมีจุดดำบังอยู่ตรงกลาง หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวไป ทำให้ความสามารถการมองเห็นภาพระยะใกล้หรือไกลเสียไป ทำให้การทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำได้ดีเช่นอ่านหนังสือ สนด้ายเข้าเข็มทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย
จอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่เกิดความเสื่อมหรือเสียบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา มี 2 ชนิด
1.ชนิดแห้ง-----เป็นชนิดที่พบมากที่สุด จะมีการเสื่อมสลายและบางลงของศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา เนื่องจากการเสื่อมตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นชัดจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ
2.ชนิดเปียก-----พบประมาณ 10-15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีลักษณะการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และเป็นเหตุสำคัญของการตาบอด ซึ่งเกิดจากการมีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตาและผนังชั้นพี่เลี้ยงจอตา มีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้ ทำให้เกิดแผลและจอประสาทตาบวม ผู้ป่วยจะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยวและมืดลงในที่สุด และสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วและเฉียบพลัน ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที
อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม จะแตกต่างกันไปในผู้เป็นแต่ละราย และยากที่คนเป็นจะสังเกตเห็นความผิดปกติในการมองเห็นเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะตาอีกข้างหนึ่งยังมองเห็นได้ดี ถ้าเกิดเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน ผู้เป็นจะรู้สึกความผิดปกติ เช่น มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพขาดหายไป หรือมืดดำ อ่านหนังสือไม่ชัด
ตามคำแนะนำของวิทยาลัยจักษุแพทย์อเมริกา
ให้คนที่มีอายุระหว่าง 40-64 ปีที่ไม่มีอาการผิดปกติการมองเห็น ควรจะไปตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี
65 ขึ้นไปทุก 1-2ปี
สาเหตุของจอประสาทตาเสื่อมยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากความเสื่อมของเซลล์จอประสาทตาซึ่งมีบางตัวมีกาสะสมของเสียเอาไว้ จึงทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์รับภาพ และจากการที่มักพบในผู้สูงอายุ จึงเชื่อว่าเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกาย
นานมาแล้วที่เราเห็นผู้สูงอายุสวมแว่นตาเวลาอ่านหนังสือ ไปทำงาน หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา ในเวลานั้นเรายังไม่รู้ว่าเกิดจากจอประสาทตาเสื่อม แต่การใช้แว่นตาสามารถทำให้ความเสื่อมช้าลง และสามารถมองเห็นได้คมชัดขึ้นเหมือนเมื่อยังไม่เสื่อม เท่ากับการรักษาสายตาในตัว
นอกจากอายุแล้ว ยังมีเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้จอประสาทตาเสื่อมได้ เช่นพันธุกรรม เชื้อชาติซึ่งจะพบได้มากที่สุดในคนผิวขาว เพศหญิง โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคอ้วน วัยหมดประจำเดือน สายตาสั้นมาก ๆ ตาได้รับแสงแดดเรื้อรัง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ เป็นต้น
วิธีป้องกันการก่อให้เกิดโรคนี้มีจักษุแพทย์บางท่านเสนอวิธีง่าย ๆว่า หลีกเลี่ยงการได้รับแสง หรือรังสีอัลตราไวโอเล็ตเป็นระยะนาน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่มาก กินอาหารที่มีเบตาแคโรทิน โดยเฉพาะลูทีนและซีเซนทินปริมาณสูง เช่น แอปเปิ้ล บร็อกโคลี ข้าวโพด แตงกวา องุ่น มะม่วง ส้ม ฟักทอง ผักโขม ถั่ว ไข่แดงเป็นต้น
ปัจจุบันนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกเจริญขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็แม่นยำขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ามีอาการโรคจอประสาทตาเสื่อมแล้ว การไปวัดสายตาด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงใช้แว่นตาทั้งมองใกล้มองไกลล้วนทำได้ทั้งสิ้น จะช่วยให้สายตาเสื่อมช้าลงและเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ชัดเหมือนเดิม เราก็ใช้ชีวิตตามปกติได้ โรคประสาทจอตาเสื่อมนอกจากชนิดเปียกแล้ว ก็มิใช่เรื่องน่ากลัวมากแต่อย่างใดในปัจจุบัน แว่นตาคือเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่สุด อย่าได้ลืมหรือละเลยเสียเป็นอันขาด!
การที่คนเราจะมองเห็นอะไรได้ดีและชัดเจนนั้น ภาพที่เรามองจะต้องสามารถผ่านเข้าไปในลูกตา โดยผ่านส่วนประกอบต่าง ๆ ของตา คือกระจกตา และเลนส์แก้วตา ไปตกที่จอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่บริเวณหลังสุดของลูกตา ที่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทตาจำนวนมาก ที่ส่งสัญญาณภาพที่ผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปลสัญญาณภาพที่เรามองเห็นให้เรารู้ว่าเป็นภาพอะไร ทำให้เรารับรู้และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่นอ่านหนังสือ ขับรถ หรือพูดจาวิสาสะกับเพื่อนฝูงได้เป็นต้น
ศุนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้สามารถองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน ถ้าศูนย์กลางรับภาพนี้เสื่อมหรือเสีย จะทำให้มองภาพไม่ชัด เหมือนมีจุดดำบังอยู่ตรงกลาง หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวไป ทำให้ความสามารถการมองเห็นภาพระยะใกล้หรือไกลเสียไป ทำให้การทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำได้ดีเช่นอ่านหนังสือ สนด้ายเข้าเข็มทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย
จอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่เกิดความเสื่อมหรือเสียบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา มี 2 ชนิด
1.ชนิดแห้ง-----เป็นชนิดที่พบมากที่สุด จะมีการเสื่อมสลายและบางลงของศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา เนื่องจากการเสื่อมตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นชัดจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ
2.ชนิดเปียก-----พบประมาณ 10-15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีลักษณะการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และเป็นเหตุสำคัญของการตาบอด ซึ่งเกิดจากการมีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตาและผนังชั้นพี่เลี้ยงจอตา มีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้ ทำให้เกิดแผลและจอประสาทตาบวม ผู้ป่วยจะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยวและมืดลงในที่สุด และสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วและเฉียบพลัน ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที
อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม จะแตกต่างกันไปในผู้เป็นแต่ละราย และยากที่คนเป็นจะสังเกตเห็นความผิดปกติในการมองเห็นเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะตาอีกข้างหนึ่งยังมองเห็นได้ดี ถ้าเกิดเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน ผู้เป็นจะรู้สึกความผิดปกติ เช่น มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพขาดหายไป หรือมืดดำ อ่านหนังสือไม่ชัด
ตามคำแนะนำของวิทยาลัยจักษุแพทย์อเมริกา
ให้คนที่มีอายุระหว่าง 40-64 ปีที่ไม่มีอาการผิดปกติการมองเห็น ควรจะไปตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี
65 ขึ้นไปทุก 1-2ปี
สาเหตุของจอประสาทตาเสื่อมยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากความเสื่อมของเซลล์จอประสาทตาซึ่งมีบางตัวมีกาสะสมของเสียเอาไว้ จึงทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์รับภาพ และจากการที่มักพบในผู้สูงอายุ จึงเชื่อว่าเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกาย
นานมาแล้วที่เราเห็นผู้สูงอายุสวมแว่นตาเวลาอ่านหนังสือ ไปทำงาน หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา ในเวลานั้นเรายังไม่รู้ว่าเกิดจากจอประสาทตาเสื่อม แต่การใช้แว่นตาสามารถทำให้ความเสื่อมช้าลง และสามารถมองเห็นได้คมชัดขึ้นเหมือนเมื่อยังไม่เสื่อม เท่ากับการรักษาสายตาในตัว
นอกจากอายุแล้ว ยังมีเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้จอประสาทตาเสื่อมได้ เช่นพันธุกรรม เชื้อชาติซึ่งจะพบได้มากที่สุดในคนผิวขาว เพศหญิง โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคอ้วน วัยหมดประจำเดือน สายตาสั้นมาก ๆ ตาได้รับแสงแดดเรื้อรัง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ เป็นต้น
วิธีป้องกันการก่อให้เกิดโรคนี้มีจักษุแพทย์บางท่านเสนอวิธีง่าย ๆว่า หลีกเลี่ยงการได้รับแสง หรือรังสีอัลตราไวโอเล็ตเป็นระยะนาน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่มาก กินอาหารที่มีเบตาแคโรทิน โดยเฉพาะลูทีนและซีเซนทินปริมาณสูง เช่น แอปเปิ้ล บร็อกโคลี ข้าวโพด แตงกวา องุ่น มะม่วง ส้ม ฟักทอง ผักโขม ถั่ว ไข่แดงเป็นต้น
ปัจจุบันนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกเจริญขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็แม่นยำขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ามีอาการโรคจอประสาทตาเสื่อมแล้ว การไปวัดสายตาด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงใช้แว่นตาทั้งมองใกล้มองไกลล้วนทำได้ทั้งสิ้น จะช่วยให้สายตาเสื่อมช้าลงและเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ชัดเหมือนเดิม เราก็ใช้ชีวิตตามปกติได้ โรคประสาทจอตาเสื่อมนอกจากชนิดเปียกแล้ว ก็มิใช่เรื่องน่ากลัวมากแต่อย่างใดในปัจจุบัน แว่นตาคือเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่สุด อย่าได้ลืมหรือละเลยเสียเป็นอันขาด!
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น