ข้อเสื่อม โรคที่เก่าแก่ที่สุดในโลก!
ข้อเสื่อมอาจเป็นโรคหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลกก็ว่าได้
ศพมัมมี่ที่พบในประเทศอียิปต์ก็มีโรคข้อเสื่อม
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็มี
นอกจากนี้ ยังพบในสัตว์ทุกชนิดที่มีข้อ
รวมทั้งนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สัตว์ที่อยู่ในน้ำเช่นปลาวาฬ
แม้กระทั่งไดโนเสาร์ก็ยังมีโรคข้อเสื่อม
สำหรับคนเราในปัจจุบัน โรคข้อเสื่อมมักจะเกิดกับคนเราแต่วัยกลางคนขึ้นไป อายุมากขึ้นก็จะพบมากขึ้น โดยเฉพาะคนอ้วน ข้อเสื่อมจึงเกิดตามสังขารของคนเรา
ร่างกายของคนเรานี้มีข้อทั้งหมด 140 ข้อ เป็นข้อชนิดต่าง ๆ กัน
ส่วนข้อเสื่อมก็มีหลายชนิด แต่แยกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 ชนิด
ชนิดแรกที่พบบ่อยมักเกิดกับข้อที่รับน้ำหนักเช่น เข่า สะโพก ข้อกระดูกสันหลัง คอ เป็นต้น
ชนิดที่สองเกิดจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อโดยตรงจากแรงกระแทกซ้ำ ๆ หรือจากอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังคมโลกในทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประวัติการณ์ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรวดเร็วโดยไม่มีใครเคยคิดมาก่อน มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย จนทำให้คนเราเคลื่อนไหวน้อยลง เช่นรถ ลิฟต์ รีโมทคอนโทรล อุปกรณ์ไร้สาย คอมพิวเตอร์เป็นต้น ทำให้คนเราเดินน้อยลงไปมาก การออกกำลังกายก็ลดน้อยตามไปด้วย กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงทนทาน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ข้อเสื่อมลงได้ง่าย
นอกจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวดังกล่าวแล้ว อาหารการกินยังทำให้เกิดโรคอ้วนมากขึ้นในปัจจุบัน เช่นอาหารจานด่วนมีแคลอรี่ค่อนข้างสูง แม้ปริมาณไม่มาก แต่หาซื้อได้สะดวก จึงเป็นที่ชื่นชอบของสังคมเมืองเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีขนมอบกรอบ ขบเคี้ยว รสชาติน่ากินเคี้ยวกันเพลิน ซ้ำยังมีน้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำชากาแฟ ทำให้น้ำหนักเราเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การกดทับต่อข้อต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จึงควรสนใจระมัดระวังให้มาก
เหตุที่ทำให้ข้อเสื่อม มีมากมาย เป็นต้นว่า
1.ในผู้สูงอายุ กระดูกและกระดูกอ่อนจะมีความแข็งแรงลดลง ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อมได้ง่ายขึ้น
2.น้ำหนักตัวมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อใหญ่ ๆ ที่รับน้ำหนักตัว เช่นข้อเข่า ข้อสะโพกเป็นต้น
3.การใช้งานของข้อซ้ำ ๆ รวมทั้งมีแรงกดมากขึ้น เช่นผู้ที่ทำงานแบกหาม นักกีฬาที่ต้องกระโดดบ่อย พนักงานขายของที่ต้องยืนนาน ๆ แม่บ้าน ฯลฯ
4.การใช้งานข้อต่อที่ไม่ถูกต้อง เช่นการนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ คุกเข่า เหล่านี้ก็ทำให้ข้อมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้มากขึ้น
5.โรคบางอย่าง เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การติดเชื้อในข้อ จะทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อทำให้ข้อเสื่อมได้
6.พันธุกรรม
7.คนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ เคร่งเครียด ขาดการออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อให้แข็งแรง
8.การดื่มสุรา สูบบุหรี่ กินอาหารที่ด้อยคุณภาพเป็นต้น
วิธีป้องกัน ก็มีมาก ที่มีผู้ทำแล้วได้ผลดีดังเช่น
1.การบริหารออกกำลังกายที่ถูกต้องเป็นประจำ จะทำให้บริเวณรอบ ๆ หรือที่เกี่ยวเนื่องกับข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เอ็นหุ้มข้อและกระดูกแข็งแรง นอกจากจะช่วยให้ข้อมั่นคงแข็งแรงแล้ว ยังเป็นเหมือนกำแพงปกป้องข้ออีกด้วย การบริหารออกกำลังมีหลายวิธี เดิน วิ่ง ถีบจักรยาน จ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ รำมวยจีนเป็นต้น ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอก็จะมีผลดีต่อข้อมาก
2.โภชนาการที่เหมาะสม อาหารบางชนิดส่งเสริมข้อ กระตุ้นและซ่อมแซมข้อให้อยู่ในสภาพดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อข้ออันทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม
3.การรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมีโอกาสข้อเสื่อมในส่วนที่รับน้ำหนักตัวเช่นเข่าและสะโพก ผลการวิจัยพบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและโรคอ้วนสัมพันธ์กับโรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะที่ข้อเข่า
4.ร่างกายควรจะรับน้ำให้มากพอ โครงสร้างของข้อเช่นกระดูกอ่อน หรือน้ำไขข้อมีส่วนประกอบเป็นน้ำส่วนใหญ่ หากขาดน้ำจะทำให้ข้อแห้ง เสื่อมสภาพได้ง่าย
5.สุดท้ายนี้ คือภาวะทางจิต-ความคิด มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับสุขภาพ การป้องกันและการบำบัดโรคทุกชนิด การขจัดความเครียด ความซึมเศร้า หรือสภาวะด้านลบออกไป และส่งเสริมทัศนคติทางฝ่ายบวก ก็จะมีผลดีอย่างยิ่งต่อทุกๆ อย่างรวมทั้งโรคข้อเสื่อมด้วย!
ศพมัมมี่ที่พบในประเทศอียิปต์ก็มีโรคข้อเสื่อม
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็มี
นอกจากนี้ ยังพบในสัตว์ทุกชนิดที่มีข้อ
รวมทั้งนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สัตว์ที่อยู่ในน้ำเช่นปลาวาฬ
แม้กระทั่งไดโนเสาร์ก็ยังมีโรคข้อเสื่อม
ร่างกายของคนเรานี้มีข้อทั้งหมด 140 ข้อ เป็นข้อชนิดต่าง ๆ กัน
ส่วนข้อเสื่อมก็มีหลายชนิด แต่แยกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 ชนิด
ชนิดแรกที่พบบ่อยมักเกิดกับข้อที่รับน้ำหนักเช่น เข่า สะโพก ข้อกระดูกสันหลัง คอ เป็นต้น
ชนิดที่สองเกิดจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อโดยตรงจากแรงกระแทกซ้ำ ๆ หรือจากอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังคมโลกในทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประวัติการณ์ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรวดเร็วโดยไม่มีใครเคยคิดมาก่อน มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย จนทำให้คนเราเคลื่อนไหวน้อยลง เช่นรถ ลิฟต์ รีโมทคอนโทรล อุปกรณ์ไร้สาย คอมพิวเตอร์เป็นต้น ทำให้คนเราเดินน้อยลงไปมาก การออกกำลังกายก็ลดน้อยตามไปด้วย กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงทนทาน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ข้อเสื่อมลงได้ง่าย
นอกจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวดังกล่าวแล้ว อาหารการกินยังทำให้เกิดโรคอ้วนมากขึ้นในปัจจุบัน เช่นอาหารจานด่วนมีแคลอรี่ค่อนข้างสูง แม้ปริมาณไม่มาก แต่หาซื้อได้สะดวก จึงเป็นที่ชื่นชอบของสังคมเมืองเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีขนมอบกรอบ ขบเคี้ยว รสชาติน่ากินเคี้ยวกันเพลิน ซ้ำยังมีน้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำชากาแฟ ทำให้น้ำหนักเราเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การกดทับต่อข้อต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จึงควรสนใจระมัดระวังให้มาก
เหตุที่ทำให้ข้อเสื่อม มีมากมาย เป็นต้นว่า
1.ในผู้สูงอายุ กระดูกและกระดูกอ่อนจะมีความแข็งแรงลดลง ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อมได้ง่ายขึ้น
2.น้ำหนักตัวมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อใหญ่ ๆ ที่รับน้ำหนักตัว เช่นข้อเข่า ข้อสะโพกเป็นต้น
3.การใช้งานของข้อซ้ำ ๆ รวมทั้งมีแรงกดมากขึ้น เช่นผู้ที่ทำงานแบกหาม นักกีฬาที่ต้องกระโดดบ่อย พนักงานขายของที่ต้องยืนนาน ๆ แม่บ้าน ฯลฯ
4.การใช้งานข้อต่อที่ไม่ถูกต้อง เช่นการนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ คุกเข่า เหล่านี้ก็ทำให้ข้อมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้มากขึ้น
5.โรคบางอย่าง เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การติดเชื้อในข้อ จะทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อทำให้ข้อเสื่อมได้
6.พันธุกรรม
7.คนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ เคร่งเครียด ขาดการออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อให้แข็งแรง
8.การดื่มสุรา สูบบุหรี่ กินอาหารที่ด้อยคุณภาพเป็นต้น
วิธีป้องกัน ก็มีมาก ที่มีผู้ทำแล้วได้ผลดีดังเช่น
1.การบริหารออกกำลังกายที่ถูกต้องเป็นประจำ จะทำให้บริเวณรอบ ๆ หรือที่เกี่ยวเนื่องกับข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เอ็นหุ้มข้อและกระดูกแข็งแรง นอกจากจะช่วยให้ข้อมั่นคงแข็งแรงแล้ว ยังเป็นเหมือนกำแพงปกป้องข้ออีกด้วย การบริหารออกกำลังมีหลายวิธี เดิน วิ่ง ถีบจักรยาน จ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ รำมวยจีนเป็นต้น ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอก็จะมีผลดีต่อข้อมาก
2.โภชนาการที่เหมาะสม อาหารบางชนิดส่งเสริมข้อ กระตุ้นและซ่อมแซมข้อให้อยู่ในสภาพดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อข้ออันทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม
3.การรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมีโอกาสข้อเสื่อมในส่วนที่รับน้ำหนักตัวเช่นเข่าและสะโพก ผลการวิจัยพบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและโรคอ้วนสัมพันธ์กับโรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะที่ข้อเข่า
4.ร่างกายควรจะรับน้ำให้มากพอ โครงสร้างของข้อเช่นกระดูกอ่อน หรือน้ำไขข้อมีส่วนประกอบเป็นน้ำส่วนใหญ่ หากขาดน้ำจะทำให้ข้อแห้ง เสื่อมสภาพได้ง่าย
5.สุดท้ายนี้ คือภาวะทางจิต-ความคิด มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับสุขภาพ การป้องกันและการบำบัดโรคทุกชนิด การขจัดความเครียด ความซึมเศร้า หรือสภาวะด้านลบออกไป และส่งเสริมทัศนคติทางฝ่ายบวก ก็จะมีผลดีอย่างยิ่งต่อทุกๆ อย่างรวมทั้งโรคข้อเสื่อมด้วย!
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น