นอนไม่หลับ แก้ยังไง


การพักผ่อนหลับนอนมีความสำคัญมากต่อสุขภาพของคนเรา  

โดยเฉลี่ยแล้ว  คนเรานอนวันละ 8 ชั่วโมง
ถ้าเรามีอายุ 60 ปี  ก็ได้ใช้เวลานอนไปแล้ว 20 ปี
เท่ากับ เราใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตเพื่อการนอนหลับ



การนอนหลับ เป็นกระบวนการตามธรรมชาติ  เพื่อป้องกันอันตรายเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อยในกิจวัตรประจำวัน
     และรักษาไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิต  และการทำงานของร่างกาย
      ขณะหลับจะเป็นเวลาพักฟื้น  ช่วยลดความเมื่อยล้า  และลดความตึงเครียดของร่างกายและจิตใจ
    ขณะเดียวกันก็เป็นการฟื้นฟู  สะสมพละกำลังของร่างกายเพื่อการกิจวัตรอันจำเป็นในวันรุ่งขึ้น



การนอนหลับได้ดีเป็นสิ่งแสดงถึงสุขภาพที่ดีของร่างกายและจิตใจของคนเรา

การนอนหลับมี3ขั้นตอน

      ระยะที่หนึ่ง เริ่มจาก  การเคลิ้มหลับ  เป็นระยะเริ่มต้นของการหลับ
ร่างกายจะผ่อนคลาย  ชีพจรจะลดลง แล้วเข้าสู่ภวังค์ของการไม่รู้สึกตัว
โดยทั่วไปแล้วกินเวลาประมาณ 20 นาที  แต่บางคนสั้นมาก  หัวถึงหมอนก็หลับไปเลย

ระยะที่สอง  เป็นการหลับอย่างตื้น  จากระยะแรกสู่ระยะที่สอง
กินเวลาประมาณ 20 — 30 นาที
จากการหลับที่ตื้นมาก ๆ ในตอนต้น  จะค่อย ๆ หลับลึกขึ้นเรื่อย ๆ เข้าสู่ระดับลึกเต็มที่ต่อมา

ระยะที่สาม คือการหลับลึกเป็นการสืบต่อจากการหลับตื้น  เป็นการหลับสนิท
กินเวลาประมาณ 30 — 40 นาที
เป็นช่วงการหลับที่ปลุกไม่ค่อยตื่น  ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ทำให้สดชื่น

  เมื่อหลับลึกแล้ว  บางคนจะมีช่วงสั้น ๆ ที่กลับมาสู่การหลับตื้น  ซึ่งจะนำไปสู่การฝัน  เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อทั่วร่างเราผ่อนคลาย  ความฝันอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้  บางคนอาจจะจำความฝันได้  บางคนรู้ว่าฝันแต่จำไม่ได้ว่าฝันเรื่องอะไรบ้าง  เราอาจจะตื่นหลายครั้งในกลางดึก  แต่แล้วก็กลับไปหลับต่อหรือฝันต่อจนตื่น

ความต้องการการพักผ่อนนอนหลับจะแตกต่างกันไปตามอายุ  

      เมื่ออายุมากขึ้นความต้องการนอนก็จะน้อยลง และปริมาณการตื่นในตอนกลางคืนก็จะเพิ่มขึ้นตามอายุด้วยเช่นกัน
     เด็กอ่อนที่เพิ่งเกิดใหม่ ๆ มักจะนอนนานมากถึง 18 ชั่วโมง  ก่อนจะมีอายุ 10 ปีเวลานอนก็จะลดลงเหลือ 9—10 ชั่วโมงเท่านั้น
     สำหรับผู้ใหญ่แล้วโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 7-8 ชั่วโมง แต่บางคนก็ 5 ชั่วโมง บ้างก็ต้องการถึง 10 ชั่วโมงก็มี

ที่สำคัญคือเรารู้สึกว่าเรานอนพอแล้วก็ใช้ได้

สภาวะการนอนไม่หลับ หรือหลับยากชั่วคราวหรือยาวนาน  เกิดจากสาเหตุหลายอย่างมากมาย  เป็นต้นว่าความเครียด  ใช้ความคิดตอนกลางคืน  ความซึมเศร้า การเข้านอนไม่เป็นเวลา หรือมีโรคประจำตัว  และอื่นๆ อีกมาก  ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นไปตามสังขารที่เสื่อมลง 

การช่วยให้นอนหลับด้วยตัวเองก็มีมากมายเช่นกัน  ซึ่งต้องใจเย็น ๆ ค่อยเป็นค่อยไป  เพราะมันจะไม่เห็นผลในทันทีทันใด

วิธีแก้นอนไม่หลับ ที่ได้ผลซึ่งมีผู้ทำสำเร็จมาแล้วก็มีหลายข้อดังนี้

1.ควรเข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง

2.ไม่ควรใช้เวลาบนเตียงนาน ๆ  โดยที่ยังนอนไม่หลับ  เพราะจะทำให้การนอนยิ่งแย่ลง

3.ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอตามสภาพร่างกาย

4.หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้นอนไม่หลับเช่นยาหรือสารเคมีบางอย่าง
โดยเฉพาะการดื่มชา  กาแฟ  หรือสูบบุหรี่เป็นต้น

5.การงีบหลับในช่วงบ่ายไม่ควรเกิน 1-2 ชั่วโมง  และไม่ควรงีบหลับหลังเวลา 15.00 น.
เพราะอาจจะมีผลต่อการนอนหลับในคืนวันนั้นได้

6.จัดห้องแสงสีเสียงเตียงนอนให้เหมาะสมกับการนอนหลับของเรา


จะทำอย่างไรหรือยังมีวิธีอื่นใดถ้าจะทดลองทำแล้วนอนได้หลับก็ควรสนใจเช่นกัน

คนเราถ้านอนหลับได้ดีจะความสุขสดชื่นปลอดโปร่งพร้อมที่จะสู้ชีวิตที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าสลับซับซ้อนต่อไป!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ล้มทุกทฤษฏี คนแก่ 70 ก็มีลูกได้!

The Hulk ตัวจริงแห่งปากีสถาน

มนุษย์ไร้หน้า